วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

วิเคราะห์และอธิบายหลักการออกแบบสิ่งพิมพ์ที่ตนเองชื่นชอบ


       สื่อสิ่งพิมพ์ที่ข้าพเจ้านำมาวิเคราะห์ในครั้งนี้ทุกๆคนคงคุ้นหน้าคุ้นตากันดีในแบรนด์ของ S&Pซึ่งหลายๆคนอาจคิดว่าแพ็คเกจต่างๆของS&P  อาจถูกออกแบบจากบริษัทที่รับออกแบบ แต่ความจริงแล้ว แพ็คเกจผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่มีนั้นได้ออกแบบโดย ทายาทรุ่นที่ 2 ของ S&P  ซึ่งได้ถูกดัดแปลงจากแบบเดิมที่มีดีไซน์เรียบง่าย มีบุคลิกเป็นผู้ใหญ่ กลายเป็นความสดใสและน่ารักสไตล์วัยรุ่น



     สาเหตุที่ข้าพเจ้าเลือกกล่องคุ๊กกี้มาวิเคราะห์เกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ เพราะเห็นแล้วเกิดความน่าสนใจ โดยส่วนตัวข้าพเจ้าจะซื้ออยู่แล้วเพราะการออกแบบที่น่ารัก และมีหลายแบบ เหมาะที่จะซื้อเก็บเป็นของสะสมหรือเป็นของขวัญทั้งเด็กและผู้ใหญ่


 

     อีกทั้งยังมีหลายรูปทรง ทั้งทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมลูกบาสก์ และสี่เหลี่ยมผืนผ้า และยังมีออกแบบมาเพื่อสำหรับเด็กเมื่อทานหมดแล้ว กล่องสามารถนำมาเป็นกล่องดินสอได้ เพราะใช้แม่เหล็กเพื่อความคงทนและแข็งแรงของผลิตภัณฑ์ หรือในแบบอื่นๆก็นำมาใช้ประโยชน์ต่อได้ โดยไม่ต้องทิ้ง ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย



     ข้าพเจ้าจึงได้แนวความคิดจากผลิตภัณฑ์นี้คือ การผลิตเพื่อเข้าถึงคนทุกวัย และอีกอย่างนึ่งคือ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม


วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

บทบาทของสื่อสิงพิมพ์ "ส.ค.ส."

ในเทศกาลปีใหม่ในช่วงที่social network ยังไม่เกิดการพัฒนามากนัก สิ่งที่ได้เห็นประจำก็จะเป็น
ส.ค.ส หรือที่ย่อมาจาก ส่งความสุข ที่ผู้คนจะส่งหากันอวยพรในวันขึ้นปีใหม่ซึ่งจะมีลวดลายหลายแบบ ที่จะเลือกให้กับคนที่เราจะให้ได้เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ หรือว่าเพื่อน


อิทธิพลของสื่อนี้คือ การปราถนาอยากให้ผู้ที่ได้รับ มีความสุข แบ่งปันความรักความห่วงใย
มีความสุขทั้งผู้ให้และผู้รับ และสามารถเก็บเป็นของสะสมได้ หรือหยิบมาดูในยามที่คิดถึง ก็จะทำให้มีความสุขในความปราถนาดีของผู้ให้ ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงมีอยู่ แต่อาจจะน้อยลงเนื่องจากเทคโนโลยีที่พัฒนามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทาง social network หรือ sms  ที่มีความสะดวกและรวดเร็ว


ถึงแม้ว่า ส.ค.ส ในสมัยนี้อาจจะลดน้อยลงไป แต่ยังคงมีความหมายเสมอสำหรับผู้ที่ให้และผู้ที่ได้รับเสมอเมื่อได้หยิบขึ้นมาดูก็จะมีความรู้สึกดีๆที่มีให้กัน เมื่อเราได้หยิบมันขึ้นมาอ่านอีกครั้ง




วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

หนังสือ อยากให้เรื่องนี้ไม่มีโชคร้าย

    วรรณกรรมเยาชน เรื่อง อยากให้เรื่องนี้ไม่มีโชคร้าย เขียนโดย เลโมนี สนิกเก็ต มีทั้งหมด 13 เล่ม เล่มแรกของชุดได้ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2545 และหลังจากนั้นก็ได้นำมาทำภาพยนต์  A Series of Unfortunate Events ขึ้นในปี พ.ศ.2547

เรื่องย่อของวรรณกรรมเยาวชนชุดนี้คือ ไวโอเล็ต เคลาส์ และซันนี่ ได้สูญเสียพ่อกับแม่อย่างกระทันหันของพ่อแม่ในกองเพลิงในบ้านของตัวเอง และพวกเขาถูกส่งไปอยู่กับญาติห่างๆ เคาต์โอลาฟ ซึ่งเป็นคนชั่วร้ายมาก และเคาต์โอลาฟปลอมตัวเพื่อเข้าใกล้พวกโบดแลร์เพื่อขโมยมรดกพวกเขา ตามพวกเขาไปทุกๆที่ พวกโบดแลร์พยายามที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้ดูแลมรดกของพวกเขา มิสเตอร์โพ แต่โพไม่รู้ตัวเกี่ยวกับโอลาฟเสมอ ในตอนแรก เขาคิดว่าโอลาฟเหมาะสมสำหรับดูแลพวกโบดแลร์ แต่สุดท้ายเขาก็รู้ถึงความชั่วร้ายของโอลาฟ ....  ซึ่งเมื่อข้าพเจ้าได้หยิบหนังสือเล่มนี้และอ่านเรื่องย่อ ข้าพเจ้ารู้สึกว่าเนื้อเรื่องน่าติดตาม จึงได้ซื้อมาอ่าน และพบว่ามีความรู้สึกชอบ เพราะมีทั้งความสนุก มีความน่าติดตาม
และความรู้ที่สอดแทรก เช่น ในการตัดสินใจของเด็กๆ จะต้องคิดให้รอบคอบ และในเรื่องนี้พี่น้องแต่ละคน จะมีความรู้ความสามารถที่ต่างกัน แต่จะนำมาช่วยเหลือ และเกิดผลได้อย่างดี จึงทำให้เกิดข้อคิดอีกอย่างขึ้นมาคือความรักและความสามัคคี และเมื่อหนังสือเล่มนี้ได้นำไปทำภาพยนตร์ ข้าพเจ้าก็ได้ไปดูรู้สึกประทับใจมาก เพราะเลือกตัวละครได้เหมาะกับบทบาทในหนังสือ และภาพยนต์ก็ได้ทำออกมาได้อย่างดี ข้าพเจ้าจึงมีความรู้สึกประทับใจในวรรณกรรมและภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นอย่างมาก

ในการเลือกหนังสือดีสักเล่มที่เป็นประโยชน์นั้น ข้าพเจ้าคิดว่าไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นหนังสือเรียน หรือหนังสือที่เต็มไปด้วยความรู้ แต่เป็นหนังสือที่เราชอบ อ่านแล้วเราคิดตาม และเห็นประโยชน์และคุณค่าจากหนังสือเล่มนั้น เอามาคิดและปรับใช้ในชีวิตประจำวันของเราให้เกิดประโยชน์สูงสุดค่ะ